วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2552

วิธีเร่งผมยาวเร็วขึ้น

ใครที่ผมสั้นแล้วต้องการให้ผมยาวเร็วขึ้น วันนี้เดลินิวส์ออนไลน์มีวิธีมาบอก...
- ออกกำลังกายให้เส้นผม เร่งให้ผมยาวด้วยการก้มศีรษะให้เลือดไปเลี้ยงที่ศีรษะค้างไว้ 30 วินาที ค่อย ๆ เงยหน้าขึ้นมาทำเช่นนี้ทุกวัน เลือดจะไหลเวียนไปเลี้ยงเส้นผมที่ศีรษะ ทำให้เส้นผมแข็งแรงและยาวเร็วขึ้นด้วย
- เพิ่มโปรตีน โปรตีนสามารถปกป้องและซ่อมแซมเส้นผม ช่วยลดการหลุดร่วงและการแตกหักของเส้นผม ทำให้เส้นผมแข็งแรง และยาวเร็วขึ้นได้
- กินปลา ปลา พืชผักใบเขียว และบลูเบอรี่เป็นแหล่งอาหารที่ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ฉะนั้นบริเวณใดก็ตามในร่างกายที่มีเลือดไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงได้ดีจะทำให้ร่างกายบริเวณนั้นแข็งแรง มีชีวิตชีวารวมไปถึงเส้นผมบนศีรษะด้วย
- เคยนวดศีรษะกันบ้างไหม การนวดศีรษะจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตบนศีรษะ และยังจะช่วยทำให้เส้นผมเติบโตเร็วขึ้น การนวดศีรษะอาจทำได้ด้วยตัวเองที่บ้านในขณะสระผม โดยการใช้นิ้วมือกดและนวดไปตามจุดบนศีรษะอย่างเบามือ
- แปรงให้ถูก หลีกเลี่ยงการทำให้เส้นผมขาดและหลุดร่วงด้วยการไม่หวีผมขณะยังเปียกอยู่ เลือกใช้หวีซีกใหญ่และห่างในการหวีผมช่วงผมเปียกแทน
- ตัดผมบ้าง การเล็มผมบ่อย ๆ จะช่วยให้ผมยาวเร็วขึ้น และยังถือว่าเป็นการกำจัดผมแตกปลายไปในตัวด้วย
- ต่อผมก็ได้ ลองมองหาร้านทำผมที่มีบริการต่อผมดู ให้เลือกใช้บริการร้านต่อผมที่ค่อนข้างมีประสบการณ์จะดีกว่า
รู้อย่างนี้แล้ว ถ้าอยากผมยาวเร็ว ลองนำวิธีที่แนะนำไปปฏิบัติกันดูได้.

หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

ระบบการทํางานของคอมพิวเตอร์
การทํางานของคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้
1. หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) ทําหน้าที่ในการรับข้อมูลหรือคําสั่งจากภายนอกเข้าไปเก็บไว้ในหน่วยความจํา เพื่อเตรียมประมวลผลข้อมูลที่ต้องการ ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้ในการนําข้อมูลที่ใช้กันอยู่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้น มีอยู่หลายประเภทด้วยกันสําหรับอุปกรณ์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันมี ดังต่อไปนี้ - Keyboard - Mouse - Disk Drive - Hard Drive - CD-Rom - Magnetic Tape - Card Reader - Scanner 2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) ทํ าหน้าที่ในการคํานวณและประมวลผล แบ่งออกเป็น 2 หน่วยย่อย คือ - หน่วยควบคุม ทําหน้าที่ในการดูแล ควบคุมลําดับขั้นตอนของการประมวลผล และการทํางานของอุปกรณ์ต่างๆ ภายในหน่วยประมวลผลกลาง และช่วยประสานงานระหว่างหน่วยประมวลผลกลาง กับอุปกรณ์นําเข้าข้อมูล อุปกรณ์ในการแสดงผล และหน่วยความจําสํารอง - หน่วยคํานวณและตรรก ทําหน้าที่ในการคํานวณและเปรียบเทียบข้อมูลต่างๆ ที่ส่งมาจากหน่วยควบคุม และหน่วยความจํา
3. หน่วยความจํ า (Memory) ทําหน้าที่ในการเก็บข้อมูลหรือคําสั่งต่างๆ ที่รับจากภายนอกเข้ามาเก็บไว้ เพื่อประมวลผลและยังเก็บผลที่ได้จากการประมวลผลไว้เพื่อแสดงผลอีกด้วย ซึ่งแบ่งออกเป็น หน่วยความจํา เป็นหน่วยความจําที่มีอยู่ ในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ทําหน้าที่ในการเก็บคําสั่งหรือข้อมูล แบ่งออกเป็น - ROM หน่วยความจําแบบถาวร - RAM หน่วยความจําแบบชั่วคราว - หน่วยความจําสํารอง เป็นหน่วยความจําที่อยู่นอกเครื่อง มีหน้าที่ช่วยให้หน่วยความจําหลักสามารถเก็บ ข้อมูลได้มากขึ้น
4. หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทําหน้าที่ในการแสดงผลลัทธ์ที่ได้หลังจากการคํานวณและประมวลผล สําหรับอุปกรณ์ที่ ทําหน้าที่ในการแสดงผลข้อมูลที่ได้นั้นมีต่อไปนี้ - Monitor จอภาพ - Printer เครื่องพิมพ. - Plotter เครื่องพิมพ์ที่ใช้ปากกาในการเขียนข้อมูลต่างๆ ที่ต้องการลงกระดาษ
แหล่งที่มา:
http://www.geocities.com/kunkroo_computer/intro5.html
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
เมนบอร์ด (Mainboard, mother board) หรือ แผงวงจรหลัก เป็นหัวใจสำคัญที่สุดที่อยู่ภายในเครื่อง เมื่อเปิดฝาเครื่องออกมาจะเป็นแผงวงจรขนาดใหญ่วางนอนอยู่ นั่นคือส่วนที่เรียกว่า "เมนบอร์ด"ส่วนประกอบหลักที่สำคัญบนเมนบอร์ดคือ
ซ็อคเก็ตสำหรับซีพียู
ชิปเซ็ต (Chip set)
ซ็อคเก็ตสำหรับหน่วยความจำ
ระบบบัสและสล็อต
Bios
สัญญาณนาฬิกาของระบบ
ถ่านหรือแบตเตอรี่
ขั้วต่อสายแหล่งจ่ายไฟ
ขั้วต่อสวิทช์และไฟหน้าเครื่อง
จัมเปอร์สำหรับกำหนดการทำงานของเมนบอร์ด
ขั้วต่อ IDE
ขั้วต่อ Floppy disk drive
พอร์ตอนุกรมและพอร์ตขนาน
พอร์ตคีย์บอร์ดและเมาส์
พอร์ต USB