วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2552

สภาพจิตใจของผู้ใหญ่

สภาพจิตใจของเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุแพทย์หญิงศรีประภา ชัยสินธพ
สภาพชีวิตในปัจจุบัน ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของภาวะสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคม เป็นยุคของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ที่มีทั้งผลดีและผลเสีย ทำให้เราทุกคนต้องพยายามปรับตัวต่อสู้ดิ้นรนเพื่อจะได้อยู่กับความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้ แต่เนื่องจากความสามารถของแต่ละคนมีขอบขีดจำกัด บางครั้งเมื่อประสบปัญหา จึงทำให้เกิดความวิตกกังวล ท้อแท้ สิ้นหวัง เบื่อหน่าย นักสังคมวิทยาบางคนให้สมญายุคนี้ว่า"ยุคแห่งความวิตกกังวล" การมีสุขภาพที่ดีนั้น ย่อมหมายถึง ภาวะที่สมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจ ไม่มีความเจ็บไข้ได้ป่วย และดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างดี ไม่มีความหวาดหวั่นพรั่นพรึง ศาสตราจารย์นายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว ได้กล่าวว่า "สุขภาพจิต คือ สภาพชีวิตที่เป็นสุขมีอารมณ์มั่นคง สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงมากๆได้ มีสมรรถภาพในการทำงาน และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยความพอใจ" การเรียนรู้เรื่องของจิตใจ ก็จะช่วยให้เข้าใจชีวิต เข้าใจตนเอง และผู้อื่นมากขึ้น
สภาพจิตใจของแต่ละคนจะเป็นอย่างไร ปกติหรือไม่ พอที่จะประเมินได้ โดยการพิจารณาองค์ประกอบต่อไปนี้
1. ความต้องการ ความต้องการนี้แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แล้วแต่สภาพแวดล้อม ถ้าความต้องการได้รับการตอบสนอง ก็จะทำให้เกิดความพึงพอใจ ถ้าไม่ได้ก็เกิดความคับข้องใจ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดปัญหาทั้งด้านร่างกายและจิตใจได้
2. เป้าหมายของชีวิต ทุกคนมีความคาดหวัง ตั้งเป้าหมายชีวิตของตนไว้ทำให้มีกำลังใจทำกิจกรรมการงานต่างๆ ถ้าเป้าหมายนี้เป็นจริง ก็จะทำให้รู้สึกพอใจ เป็นสุข ถ้าไม่เป็นไปตามนั้นก็จะผิดหวังและเป็นทุกข์ เป้าหมายนี้อาจจะมากจนทำให้เกิดความยากลำบากในการปรับตัวได้
3. การรู้จักตัวเองและยอมรับตัวเอง รู้ความสามารถ ความต้องการความสนใจ บุคลิกภาพ ปมเด่นปมด้อยของตน ยอมรับตัวเอง มีความเชื่อมั่น มีความหวัง และรู้จักหาวิธีแก้ไขปรับปรุงตนเอง อดทนต่อปัญหา อุปสรรคต่างๆ
4. การเจริญเติบโต และพัฒนาการทางร่างกาย ที่เป็นไปตามปกติ ทำให้มีพัฒนาการทางจิตควบคู่กันไปอย่างสมดุล ถ้าเกิดความผิดปกติทางกาย ก็อาจมีปัญหาทางจิตใจได้
5. การควบคุมอารมณ์ พฤติกรรมของบุคคลแทบจะทุกพฤติกรรมได้รับอิทธิพลจากอารมณ์ นอกจากนี้ยังมีผลต่อการทำงานของร่างกายด้วย ผู้ที่สามารถรักษาและควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกติให้ได้มากที่สุด จึงนับว่ามีสุขภาพจิตดี
6. ความรัก ความรักมีอิทธิพลต่อการแสดงออกที่ดี ต่อตนเองและต่อบุคคลอื่น ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ความเสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความเมตตากรุณา ทำให้บุคคลมีคุณค่าและเจริญขึ้น ทำให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
7. ความสุข ลักษณะของคนที่มีความสุข คือ การชอบติดต่อกับคนอื่น ให้
ความร่วมมือ ร่วมแสดงความคิดเห็น ยิ้มแย้มแจ่มใส ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในบรรทัดฐานของสังคม สามารถดำเนินชีวิตไปกับผู้อื่นได้ดี
8. การยอมรับความจริง เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น ทำให้คนเรารู้สึกเป็นสุขเป็นทุกข์ได้ ผู้ที่ยอมรับความจริงทำให้สามารถยอมรับความผิดหวัง การสูญเสียได้ โดยไม่ตีโพยตีพาย กล้าที่จะเผชิญเหตุการณ์ต่างๆ และยอมรับผลที่เกิดขึ้นอย่างหน้าชื่นตาบานลักษณะของผู้ที่มีสุขภาพจิตดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น