วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2552

วิธีแก้สิว

น้ำมะนาว รักษาสิวด้วย"วิธีธรรมชาติ" ... หาได้จากตู้เย็นในครัวที่บ้านใช้น้ำมะนาวเพื่อบรรเทา / รักษาสิว เป็นวิธีธรรมชาติในการรักษาสิวที่ง่ายและปลอดภัยสามารถใช้ได้ทั้งทาบนผิวและดื่ม ทั้งสองวิธีจะช่วยลดการเกิดสิวและรอยแผลเป็นทั้งภายนอกและภายใน ได้มีทดลองใช้น้ำมะนาวทั้งสองวิธีแล้ว (ทาโดยตรงบนผิวหน้า และดื่ม) และพบว่าภายใน 3 สัปดาห์ สิวก็ลดลงอย่างเห็นได้ชัด และเชื่อว่าการผสมน้ำมะนาวกับผลิตภัณฑ์ล้างหน้าที่อ่อนโยน จะช่วยให้ผลเร็วขึ้นทาน้ำมะนาวโดยตรงบนสิวน้ำมะนาวมีกรดผลไม้ AHA หรือ Alpha Hydroxy Acids ทำงานโดยการลอกเอาเซลล์ผิวที่ตายแล้วออก ช่วยสร้างความยืดหยุ่นให้แก่ผิว และช่วยให้เซลล์ผิวใหม่ที่อยู่ด้านล่างได้ผลัดขึ้นมาแทนที่เซลล์ผิวเก่าที่ตายแล้ว ยังช่วยชำระรูขุมขนและช่วยให้ผิวรู้สึกสดชื่น สดใสด้วยสูตรน้ำมะนาว / วิธีใช้1.ล้างหน้าให้สะอาด2.บีบน้ำมะนาว 1 ช้อนชาในถ้วยเล็ก ใช้สำลีจุ่มน้ำมะนาวพอเปียก อาจผสมน้ำหากรู้สึกว่าแสบเกินไป3.ป้ายน้ำมะนาวลงบนสิว สิวหัวขาว สิวหัวดำ สิวหัวหนอง4.ทิ้งไว้ทั้งคืนโดยไม่ต้องล้างออก ล้างออกตอนเช้า และทาอีกครั้งก่อนเมคอัพ (หากคุณต้องใช้เมคอัพ)5.หากรู้สึกว่าน้ำมะนาวนั้นแรงเกินไป แม้ว่าจะผสมน้ำให้เจือจางแล้วก็ตาม ให้ทิ้งไว้ 10 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำเย็นวิธีการนี้ใช้เวลา 2 สัปดาห์เป็นอย่างต่ำจึงจะเห็นผล ดื่มน้ำมะนาวเพื่อรักษาสิวสามารถใช้วิธีการดื่มน้ำมะนาวเพื่อรักษาและทำความสะอาดภายในร่างกาย หรือขจัดสารพิษออกจากตับ และเพื่อให้การดูดซึมแร่ธาตุและวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย น้ำมะนาวนั้นเป็นเครื่องดื่มชนิดหนึ่งที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกายและผิวพรรณ ที่ช่วยให้กระชุ่มกระชวย ดื่มง่าย และทำได้ง่ายความจริงแล้วการรักษาสิวด้วยการดื่มน้ำมะนาวนั้นมีประโยชน์หลายอย่าง ที่ทุกคนควรดื่ม (สำหรับคนที่ไม่แพ้มะนาว) ประโยชน์ต่าง ๆ เหล่านั้นคือ :-ขจัดกรดต่าง ๆ ที่ตกค้างออกไป เพราะน้ำมะนาวมีแร่ธาตุต่าง ๆ (วิตามินซี, โพแทสเซียม)-บรรเทาอาการท้องผูก-ทำความสะอาดตับด้วยกรดซิตริก และสร้างเอนไซม์เพื่อขจัดสารพิษในเลือด-ช่วยกระบวนการย่อยอาหาร-กำจัดนิ่วในไต และตับอ่อนการรักษาสิวโดยการดื่มน้ำมะนาว สูตร 11.บีบน้ำมะนาว 1 ผลลงในแก้ว2.เติมน้ำเปล่า 2 ถ้วย (ถ้วยละ 8 ออนซ์)3.ดื่มน้ำมะนาวที่ผสมนี้ได้ทั้งวันการรักษาสิวโดยการดื่มน้ำมะนาว สูตร 21.บีบน้ำมะนาว 1 ผล ผสมกับน้ำอุ่นที่ต้มแล้ว 1 ถ้วย (8 ออนซ์)2.ดื่มเป็นสิ่งแรกของวัน ในตอนเช้า3.หลังจากดื่มน้ำมะนาว งดการดื่ม หรือรับประทานสิ่งใด ๆ ภายในครึ่งชั่วโมง เพื่อให้น้ำมะนาวได้ชำระล้างร่างกาย

เทคนิคการทำข้อสอบ

เมื่ออยู่ในห้องสอบ

เราควรจะอ่านคำสั่งอย่างระมัดระวัง และกรอกชื่อหรือรายละเอียดที่เราจำเป็นต้องกรอกบนหัวกระดาษข้อสอบให้ครบ
ข้อสอบแบบ"ปรนัย"
อ่านคำสั่งอย่างละเอียด
ถ้าทำในกระดาษคำตอบ ควรทำเครื่องหมายตามที่คำสั่งระบุไว้อย่างเคร่งครัด และทำ เครื่องหมายคำตอบให้ตรงกับข้อคำถาม
ควรดูตัวเลือกให้ทั่วที่จะเลือกข้อใดข้อหนึ่ง
ถ้าต้องเดา ควรเพิ่มโอกาสให้กับตัวเองโดยการตัดคำตอบที่ผิดออกไปให้มากที่สุดเท่า ที่จะทำได้
ถ้าข้อไหนที่ทำไม่ได้ให้ผ่านไปคิดข้อต่อไปก่อน เพื่อเป็นการประหยัดเวลา
หลังจากทำเสร็จ ควรตรวจดูว่าได้ตอบคำถามครบทุกข้อแล้ว
ข้อสอบแบบ"อัตนัย"
อ่านคำสั่งอย่างระมัดระวัง ให้มั่นใจว่าคำถามถามเกี่ยวกับอะไรและจะต้องตอบอย่างไร
กะเวลาให้ดี เพื่อที่จะทำข้อสอบได้ทันเวลา ถ้ามีเวลาเหลือเราก็ควรจะตรวจสอบคำตอ ของคุณให้ดี
จะต้องตอบคำถามละเอียดแค่ไหน โดยดูจาก
ให้ตอบอย่างสั้นเมื่อคำถามมีคำว่า "ระบุ" หรือ "เขียนเป็นข้อๆ" หรือ "ชื่อ..."
ให้ตอบอย่างยาว ถ้าคำถามถามด้วยคำว่า"อธิบาย.."หรือ"บรรยาย.."หรือ"ทำไม.."
ดูคะแนนที่ให้ไว้ในคำตอบของแต่ละส่วน เราจะได้ทราบคะแนนที่ผู้ตรวจให้เราในแต่ ละข้อนั้น
จำนวนเส้นของช่องว่างอาจจะบอกใบ้ให้รู้ว่าควรเขียนคำตอบมากเท่าใด
พยายามตอบคำถามให้ครบทุกคำถาม

วิธีการลดความอ้วน

วิธีการลดความอ้วนแบบไม่ยุ่งยาก
1. ใช้จานชามสีเข้มขรึมเนื่อง จากภาชนะใส่อาหารที่มีสีสดใสจะช่วยกระตุ้นให้เกิดความอยากอาหารมากขึ้น ดังนั้นเพื่อสกัดกั้นความอยากเสียตั้งแต่ยังไม่เริ่มลงมือกิน จึงควรจัดอาหารใส่ไว้ในภาชนะสีเข้มๆ อย่างเช่น สีดำ หรือสีน้ำเงินเข้ม จะเป็นการดีกว่า
2. รับประทานผักมากๆแบ่งสัด ส่วนการรับประทานอาหารในแต่ละวันของคุณออกเป็น 4 มื้อ และสามในสี่มื้อนั้นควรเป็นอาหารประเภทผักล้วนๆ คิดเสียว่าอย่างไรผักก็มีประโยชน์ และหากอยากลดหุ่นให้ได้จริงๆ ข้อนี้ห้ามละเลย
3. ดื่มน้ำเย็นๆเพราะน้ำเย็นๆ จะช่วยให้ร่างกายต้องดึงพลังงานความร้อนในตัวออกมาเพื่อปรับอุณหภูมิของน้ำ นั้นให้เหมาะสมกับอุณหภูมิในร่างกาย ด้วยเหตุนี้ขณะที่เราได้ดื่มน้ำเย็นๆร่างกายจึงต้องเผาผลาญแคลอรีมากขึ้น
4. กินแต่อาหารที่ไม่ติดมันอาหาร ประเภทเนื้อสัตว์ติดมัน หมูสามชั้นทอดกรอบ กุนเชียง กากหมู หนังไก่หรืออาหารที่ทอดด้วยน้ำมัน ควรจะงดเว้นให้เด็ดขาด หากยังไม่อยากสูญเสียทรวดทรงองค์เอวอันสวยงามสมส่วน
5. เลือกกินของหวานอย่างเหมาะสมขนม หวานๆอย่างทองหยิบ ฝอยทอง หม้อแกง เค้กหรือช็อกโกแลตเป็นของหวานที่อุดมไปด้วยนม เนย ไข่ และน้ำตาล แถมเวลาได้รับประทานแล้วจะรู้สึกเพลิดเพลินมีความสุข ทำให้ทานชิ้นเดียวหยุดไม่ได้ ฉะนั้นหากต้องการลดน้ำหนักก็จงตัดอกตัดใจเสียเถอะ ทางที่ดีควรหันมารับประทานลูกพลับ หรืออินทผลัมอบแห้งจะสามารถช่วยป้องกันอาการอยากของหวานเหล่านั้นได้
6. งดใส่ครีมในกาแฟแม้ ครีมเทียมจะทำให้รสชาติของกาแฟกลมกล่อมขึ้น แต่คิดดูสิ ครีมเทียมเพียง 1 กรัม สามารถให้พลังงานสูงถึง 9 แคลอรี แล้วกาแฟที่คุณดื่ม ใส่ครีมกี่ช้อนต่อแก้ว ถ้าวันหนึ่งคุณดื่มกาแฟสัก 3-4 แก้ว ร่างกายจะได้รับแคลอรี่โดยไม่รู้ตัวมากมายขนาดไหน
7. สลัดน้ำข้น ไขมันเพียบ!คุณ บอกว่ารับประทานแต่สลัด แต่ทำไมยังอ้วนอีก ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะน้ำสลัดที่คุณเลือกรับประทาน ล้วนเป็นน้ำสลัดข้นๆที่อุดมไปด้วยครีมนม และไขมันนม ถ้ารับประทานอย่างนี้แล้ว จะผอมได้อย่างไรละคะ
8. ซดน้ำแกงจืดก่อนอาหารเป็น ความคิดที่ดีที่จะจัดการกับน้ำแกงจืดหรือไม่ก็ดื่มน้ำสักแก้วสองแก้วก่อนรับ ประทานอาหาร ทั้งนี้ก็เพื่อให้คุณรู้สึกอิ่มกับอาหารตรงหน้า แต่ถ้าหากยังสามารถกินอาหารได้อีก ก็จะกินได้ในปริมาณที่น้อยลง
9. เลือกกินข้าวกล้องแทนข้าวขาวข้าว เป็นอาหารหลักที่เราต้องรับประทานเกือบทุกมื้ออยู่แล้ว และถ้าหากได้รับประทานข้าวกล้องแทนข้าวขาว เราก็จะไม่ได้เพียงแค่คาร์โบไฮเดรตเฉยๆ แต่ยังได้ทั้งวิตามินและเกลือแร่ต่างๆมากมายจากเยื่อหุ้มและจมูกข้าวที่ไม่ ได้ถูกขัดสีออกไปด้วย
10. เลิกนิสัยกินจุบกินจิบอย่า สร้างความเคยชินให้กับตัวเองด้วยการกินนั่นกินนี่ไม่เป็นเวล่ำเวลาอยู่ เรื่อยไป แต่ควรกินอาหารเป็นมื้อเป็นคราวเท่านั้น โดยเฉพาะเวลานั่งอยู่หน้าจอทีวีไม่ควรจหาขนมกรุบกรอบ อาทิเช่น มันฝรั่งทอด ข้าวเกรียบหรือคุ้กกี้ กินไปดูทีวีไปตลอดเวลา เพราะจะทำให้กินเพลินจนลืมเรื่องอ้วน
11. หาเพื่อนร่วมลดการ ลดน้ำหนักคนเดียว บางครั้งอาจทำให้รู้สึกท้อแท้ แต่ถ้ามีเพื่อนหัวอกเดียวกันที่มุ่งมั่นจะรีดไขมันส่วนเกินออกจากชีวิต เหมือนกัน จะช่วยทำให้มีกำลังใจขึ้นเยอะ อย่างน้อยๆคุณก็ยังรู้สึกว่า "ฉันไม่ได้เป็นคนอ้วนที่ต้องลดน้ำหนักอย่างโดดเดี่ยวเดียวดาย"
12. ดินเนอร์ใต้แสงเทียนภายใต้แสงเทียนนอกจากจะช่วยสร้างบรรยากาศให้ดูโรแมนติกขึ้นแล้ว ท่ามกลางแสงสลัวๆแบบนั้นยังทำให้ความอยากอาหารลดน้อยลงอีกด้วย
13. อาหารมื้อเช้าอาหาร มื้อไหนๆก็ไม่สำคัญเท่ากับมื้อเช้า ทั้งนี้เพราะช่วงเวลาตั้งแต่ 6 โมงถึง 10 โมงเช้า เป็นช่วงที่ระบบการเผาผลาญสารอาหารภายในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สูงสุด ดังนั้นจึงควรกินอาหารเช้าใด้เต็มที่ ส่วนมื้อเย็นให้กินแต่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
14. ไม่กักตุนอาหรเต็มตู้เย็นทั้งนี้เพราะจะทำให้คุณหาของกินได้ง่ายและสะดวกสบายเกินไป ยิ่งมีของกินในตู้เย็นมากเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งกินตามใจปากมากขึ้นเท่านั้น
15. ผลไม้รสเปรี้ยวอมหวานผล ไม้อย่างแอปเปิ้ล ส้ม ฝรั่ง กีวี สตรอเบอร์รี่ สับปะรด มะม่วงหรือมะเขือเทศ นับเป็นผลไม้ที่เกิดขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รักษาหุ่นอย่างแท้ จริง เพราะนอกจากจะเป็นแหล่งวิตามินซีคุณภาพสูงจากธรรมชาติแล้ว
16. ดื่มตบท้ายด้วยชามะนาวหลัง อาหารแต่ละมื้อควรดื่มชามะนาวตบท้าย จะสามารถช่วยชะล้างปากจากอาหารคาว หรืออาหารมันๆเลี่ยนๆได้ดีกว่าดื่มน้ำเปล่าธรรมดา แถมยังสามารถช่วยยุติความอยากอาหารเรื่อยเปื่อยของคุณอย่างได้ผลด้วย
17. ออกกำลังกายการ ออกกำลังกายเป็นกิจกรรมที่ขาดไม่ได้สำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก เพราะการออกกำลังกายจะทำให้ร่างกายสามารถเผาผลาญแคลอรีให้กลายเป็นพลังงาน ได้คราวละมากๆ ฉะนั้นจึงควรเตือนตัวเองให้ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ ซึ่งนอกเหนือจากเล่นกีฬาเป็นงานอดิเรกแล้ว ก็ควรหมั่นฝึกตนให้เป็นคนชอบเดิน ชอบทำงานบ้าน และชอบขึ้นลงบันได
18. กิจวัตรแรกสุดของทุกๆวันหลัง จากตื่นนอนตอนเช้า กิจวัตรแรกสุดที่ควรทำทันทีก็ไม่ใช่อะไรอื่น นั่นก็คือดื่มน้ำให้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถดื่มได้ ทั้งนี้ก็เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสดชื่นขึ้น และช่วยให้ระบบขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายทั้งหนักทั้งเบาทำงานได้อย่าง คล่องตัว
19. ชั่งน้ำหนักอาทิตย์ละครั้งเมื่อ ปฎิบัติได้ตามคำแนะนำดังกล่าวข้างต้นแล้ว ควรติดตามผลการลดหุ่น ด้วยการเปลือยกายสำรวจตัวเองหน้ากระจกในห้องน้ำส่วนตัว และชั่งน้ำหนักอาทิตย์ละครั้งก็พอ ไม่จำเป็นจะต้องชั่งทุกๆวัน เพราะการทำเช่นนั้นรังแต่จะทำให้รู้สึกเครียดและคับข้องใจที่น้ำหนักไม่มี การเปลี่ยนแปลงให้เห็นผลได้ทันตา
20. อย่าลืมให้รางวัลกับตัวเองหลัง จากที่สามารถขจัดไขมันส่วนเกินในร่างกายให้ลดลงไปได้สำเร็จ (แม้จะลงไปเพียงเล็กน้อยก็ตาม) คุณก็สามารถจะให้รางวัลกับตัวเองด้วยการไปนวดหน้า นวดตัว ขัดผิวและบำรุงผิว เพียงเท่านี้หน้าตาและผิวพรรณคุณก็จะแลดูสดใสและปิ๊งปั๊งขึ้นมาทันตาเห็น

โทษของสารเสพติด

ความหมายของยาเสพติด ยาเสพติดให้โทษ หรือสิ่งเสพติดหมายถึง ยาหรือสารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆ เมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายแล้วไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือวิธีใดก้ตาม ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจ ดังนี้1. ต้องการยาเสพติดตลอดเวลา แสดงออกทางร่างกายและจิตใจ2. ต้องเพิ่มขนาดของยาเสพติดมากขึ้น3. มีอาการหยากหรือหิวยาเมื่อขาดยา (บางท่านจะมีอาการถอนยาเมื่อขาดยา)4. สุขภาพทั่วไปทรุดโทรมถ้าพบเห็นบุคคลที่มีพฤติกรรม 4 ประการ ให้พึงสังเกตว่าอาจจะเป็นคนที่ใช้ยาเสติด
ประเภทของยาเสพติดปัจจุบันสิ่งเสพติดหรือยาเสพติดให้โทษมีหลายประเภท อาจจำแนกได้หลายเกณฑ์ นอกจากแบ่งตามแหล่งที่มาแล้ว ยังแบ่งตามการออกฤทธิ์และแบ่งตามกำกฎหมายดังนี้ก.จำแนกตามสิ่งเสพติดที่มา1. ประเภทที่ได้จากธรรมชาติ เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน กระท่อม กัญชา2. ประเภทที่ได้จากการสังเคราะห์ เช่น เฮโรอีน ยานอนหลับ ยาม้า แอมเฟตามีน สารระเหยข.จำแนกสิ่งเสพติดตามกฎหมาย1. ประเภทถูกกฎหมาย เช่น ยาแก้ไอน้ำดำ บุหรี่ เหล้า กาแฟ ฯลฯ2. ประเภทผิดกฎหมาย เช่น มอร์ฟีน ฝิ่น เฮโรอีน กัญชา กระท่อม แอมเฟตามีน ฯลฯค.การจำแนกสิ่งเสพติดตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง1.ประเภทกดประสาท เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยากล่อมประสาท ยาระงับประทสาท ยานอนหลับ สารระเหย เครื่องดื่มมึนเมา เช่นเหล้า เบียร์ ฯ2. ประเภทกระตุ้นประสาท เช่น แอมเฟตามีน ยาม้า ใบกระท่อม บุหรี่ กาแฟ โคคาอีน3. ประเภทหลอนประสาท เช่น แอล เอส ดี,เอส ที พี,น้ำมันระเหย4. ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน อาจกด กระตุ้น หรือหลอนประสาทผสมรวมกันได้แก่ กัญชา
สาเหตุที่ทำให้เกิดยาเสพติด 1. ติดเพราะฤทธิ์ของยา เมื่อร่างกายมนุษย์ได้รับยาเสพติดเข้าไปฤทธิ์ของยาเสพติดจะทำให้ระบบต่างๆของร่างกายเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งถ้าการใช้ยาไม่บ่อยหรือนานครั้ง ไม่ค่ยมีผลต่อร่างกาย แต่ถ้าใช้ติดต่อเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งจะทำให้มีผลต่อร่างกายและจิตใจ มีลักษณะ 4 ประการ คือ1.1 มีความต้องการอย่างแรงกล้าที่จะเสพยาหรือสารนั้นอีกต่อไปเรื่อๆ1.2 มีความโน้มเอียงที่จะเพิ่มปริมาณของยาเสพติดขึ้นทุดขณะ1.3 ถ้าถึงเวลาที่เกิดความต้องการแล้วไม่ได้เสพ จะเกิดอาการอยากยา หรืออาการขาดยา เช่น หาว อาจียน น้ำตาน้ำมูกไหล ทุรนทุราย คลุ้มคลั้ง โมโห ขาสติ1.4 ยาที่เสพนั้นจะไปทำลายสุขภาพของผู้เสพทั้งร่างกาย ทำให้ซูบผอม มีโรคแทรกซ้อน และทางจิตใจ เกิดอาการทางประสาท จิตใจไม่ปกติ 2. ติดยาเสพติดเพราะสิ่งแวดล้อม2.1 สภาพแวดล้อมภายนอกของบ้านที่อยู่อาศัย เต้มไปด้วยแหล่งค้ายาเสพติด เช่น ใกล้บรเวณศูนย์การค้า หน้าโรงหนัง ซึ่งเป็นการซื้อยาเสพติดทุกรูปแบบ2.2 สิ่งแวดล้อมภายในบ้านขาดความอบอุ่น รวมไปถึงปัญหาชีวิตคนในครอบครัวและฐานะทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมจะทำให้เด้กหันไปพึ่งยาเสพติด การขาดความเอาใจใส่ดูแลจากพ่อแม่ และขาดการยอมรับจากครอบครัว เด็กจะหันไปคบเพื่อนร่อมกลุ่มเพื่อต้องการความอบอุ่น สภาพของกลุ่มเพื่อน สภาพของเพื่อนบ้านใกล้เคียง2.3 สิ่งแวดล้อมทางโรงเรียน เด็กมีปัญหาทางการเรียน เนื่องจากเรียนไม่ทันเพื่อน เบื่อครู เบื่อโรงเรียน ทำให้หนีโรงเรียนไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ตนพอใจ เป็นเหตุให้ตกเป็นเหยื่อของการติดยาเซบติด3. ติดเพราะความผิดปกติทางร่างกายและจิตใจในสังคมที่วุ่นวายสับสน เปลี่ยนแปลงรวดเร้วดังเช่นปัจจุบัน ทำให้จิตใจผิดปกติง่าย หากเป็นบุคคลที่มีบุคลิกภาพอ่อนแอในทุกด้าน ทั้งอารมณ์และสติปัญญา รวมทั้งร่างกายไม่สมบูรณ์แข็งแรงก็จะหาสิ่งยึดเหนี่ยว จะตกเป้นทาสยาเสพติดได้ง่าย ผู้ที่มีอารมณ์วู่วามไม่ค่อยยั้งคิดจะหันเข้าหายาเสพติดเพื่อระงับอารมณ์วู่วามของตน เนื่องจากยาเสพติดมีคุณสมบัติในการกดประสาทและกระตุ้นประสาท ผู้มีจิตใจมั่นคง ขาดความมั่นใจ มีแนวโน้มในการใช้ยาเพื่อบรรเทาความวิตกกังวลของตนให้หมดไปและมีโอกาสติดยาได้ง่ายกว่าผู้อื่น
วิธีสังเกตผู้ติดยาหรือสารเสพติด1. การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย สุขภาพทรุดโทรม ผอมซีด ทำงานหนักไม่ไหว ริมฝีปากเขียวคล้ำและแห้ง ร่างกายสกปรกมีกลิ่นเหม็น ชอบใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ใส่แว่นดำเพื่อปกปิด2. การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ อารมณ์หงุดงิดง่าย พูดจาร้าวขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มั่วสุมกับคนที่มีพฤติกรรมเกี่ยวกับยาเสพติด สุบบุหรี่จัด มีอุปกรณ์เกี่ยวกับยาเสพติด หน้าตาซึมเศร้า ขาดความเชื่อมั่น จิตใจอ่อนแอ ใช้เงินเปลือง สิ่งของภายในบ้านสูญหายบ่อย3. แสดงอาการอยากยาเสพติด ตัวสั่น กระตุก ชัก จาม น้ำหมูกไหล ท้องเดิน ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดที่เรียกว่า "ลงแดง" มีไข้ปวดเมื่อยตามร่างกายอย่างรนแรงนอนไม่หลับ ทุรนทุราย4. อาสัยเทคนิคทางการแพทย์ โดยการเก็บปัสสาวะบุคคลที่สงสัยว่าจะติดยาเสพติดส่งตรวจ ใช้ยาบางชนิดที่สามารถล้างฤทธิ์ของยาเสพติด

สภาพจิตใจของผู้ใหญ่

สภาพจิตใจของเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุแพทย์หญิงศรีประภา ชัยสินธพ
สภาพชีวิตในปัจจุบัน ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของภาวะสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคม เป็นยุคของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ที่มีทั้งผลดีและผลเสีย ทำให้เราทุกคนต้องพยายามปรับตัวต่อสู้ดิ้นรนเพื่อจะได้อยู่กับความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้ แต่เนื่องจากความสามารถของแต่ละคนมีขอบขีดจำกัด บางครั้งเมื่อประสบปัญหา จึงทำให้เกิดความวิตกกังวล ท้อแท้ สิ้นหวัง เบื่อหน่าย นักสังคมวิทยาบางคนให้สมญายุคนี้ว่า"ยุคแห่งความวิตกกังวล" การมีสุขภาพที่ดีนั้น ย่อมหมายถึง ภาวะที่สมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจ ไม่มีความเจ็บไข้ได้ป่วย และดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างดี ไม่มีความหวาดหวั่นพรั่นพรึง ศาสตราจารย์นายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว ได้กล่าวว่า "สุขภาพจิต คือ สภาพชีวิตที่เป็นสุขมีอารมณ์มั่นคง สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงมากๆได้ มีสมรรถภาพในการทำงาน และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยความพอใจ" การเรียนรู้เรื่องของจิตใจ ก็จะช่วยให้เข้าใจชีวิต เข้าใจตนเอง และผู้อื่นมากขึ้น
สภาพจิตใจของแต่ละคนจะเป็นอย่างไร ปกติหรือไม่ พอที่จะประเมินได้ โดยการพิจารณาองค์ประกอบต่อไปนี้
1. ความต้องการ ความต้องการนี้แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แล้วแต่สภาพแวดล้อม ถ้าความต้องการได้รับการตอบสนอง ก็จะทำให้เกิดความพึงพอใจ ถ้าไม่ได้ก็เกิดความคับข้องใจ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดปัญหาทั้งด้านร่างกายและจิตใจได้
2. เป้าหมายของชีวิต ทุกคนมีความคาดหวัง ตั้งเป้าหมายชีวิตของตนไว้ทำให้มีกำลังใจทำกิจกรรมการงานต่างๆ ถ้าเป้าหมายนี้เป็นจริง ก็จะทำให้รู้สึกพอใจ เป็นสุข ถ้าไม่เป็นไปตามนั้นก็จะผิดหวังและเป็นทุกข์ เป้าหมายนี้อาจจะมากจนทำให้เกิดความยากลำบากในการปรับตัวได้
3. การรู้จักตัวเองและยอมรับตัวเอง รู้ความสามารถ ความต้องการความสนใจ บุคลิกภาพ ปมเด่นปมด้อยของตน ยอมรับตัวเอง มีความเชื่อมั่น มีความหวัง และรู้จักหาวิธีแก้ไขปรับปรุงตนเอง อดทนต่อปัญหา อุปสรรคต่างๆ
4. การเจริญเติบโต และพัฒนาการทางร่างกาย ที่เป็นไปตามปกติ ทำให้มีพัฒนาการทางจิตควบคู่กันไปอย่างสมดุล ถ้าเกิดความผิดปกติทางกาย ก็อาจมีปัญหาทางจิตใจได้
5. การควบคุมอารมณ์ พฤติกรรมของบุคคลแทบจะทุกพฤติกรรมได้รับอิทธิพลจากอารมณ์ นอกจากนี้ยังมีผลต่อการทำงานของร่างกายด้วย ผู้ที่สามารถรักษาและควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกติให้ได้มากที่สุด จึงนับว่ามีสุขภาพจิตดี
6. ความรัก ความรักมีอิทธิพลต่อการแสดงออกที่ดี ต่อตนเองและต่อบุคคลอื่น ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ความเสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความเมตตากรุณา ทำให้บุคคลมีคุณค่าและเจริญขึ้น ทำให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
7. ความสุข ลักษณะของคนที่มีความสุข คือ การชอบติดต่อกับคนอื่น ให้
ความร่วมมือ ร่วมแสดงความคิดเห็น ยิ้มแย้มแจ่มใส ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในบรรทัดฐานของสังคม สามารถดำเนินชีวิตไปกับผู้อื่นได้ดี
8. การยอมรับความจริง เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น ทำให้คนเรารู้สึกเป็นสุขเป็นทุกข์ได้ ผู้ที่ยอมรับความจริงทำให้สามารถยอมรับความผิดหวัง การสูญเสียได้ โดยไม่ตีโพยตีพาย กล้าที่จะเผชิญเหตุการณ์ต่างๆ และยอมรับผลที่เกิดขึ้นอย่างหน้าชื่นตาบานลักษณะของผู้ที่มีสุขภาพจิตดี

สภาพจิตใจของวัยรุ่น

สภาพจิตใจของวัยรุ่น
วัยรุ่นเป็นวัยของการเร่งเจริญเติบโตทั้งในทางชีวะ สรีระ และจิตวิทยา
เป็นวัยเร่งสร้างสุขนิสัย เร่งปรับตัว เร่งทางวิชาการ และเริ่มเลือกอาชีพ สรุปแล้วเป็น
การเร่งเจริญเติบโตทุกๆด้าน คำว่า adolescent มาจากภาษาลาติน adolescere
ซึ่งหมายความว่า to grow up4 มีวัยรุ่นและพ่อแม่ของวัยรุ่นจำนวนไม่น้อยที่ต้องเดือดร้อน
วุ่นวายไปกับการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายนี้ แต่ในเวลาเดียวกันก็มีวัยรุ่นอีกจำนวนมากที่
ผ่านระยะของวัยนี้ไปได้โดยไม่มีปัญหาแต่อย่างใด Erikson เป็นผู้หนึ่งที่มองว่าสิ่งต่างๆ
ที่เกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่น เป็นเรื่องที่ไม่ใช่ความผิดปกติหรือเรื่องที่น่าจะเดือดเนื้อร้อนใจมาก
มายนัก ถึงแม้ Erikson จะใช้คำว่า "identity crisis" ในการบรรยายถึงวัยรุ่น
เขาก็หมายถึงช่วงระยะหนึ่งของพัฒนาการตามปกติ และคำนี้ก็กลายเป็นที่ยอมรับและใช้กัน
โดยทั่วไป5
การแสวงหาเอกลักษณ์ของตนเอง(Identity Versus Role Confusion :12-20 ปี)
การปรับตัวของวัยรุ่นเป็นพัฒนาการต่อจากวัยเด็ก แต่วัยรุ่นจะต้องเผชิญกับ
ความคาดหวังของผู้อื่นมากกว่าสมัยเมื่อเขายังเด็ก การเปลี่ยนแปลงจากเด็กที่พึ่งพาอาศัย
พ่อแม่ไปเป็นคนที่กำลังจะเริ่มเป็นผู้ใหญ่ จะเริ่มรับผิดชอบตัวเอง ทำให้วัยรุ่นต้องมีการปรับ
ตัวทางอารมณ์และสังคมอย่างมาก มีการสร้างเอกลักษณ์ของตนเอง สร้างทัศนคติ และค่า
นิยมแห่งชีวิต เมื่อเริ่มห่างจากพ่อแม่ มิตรภาพระหว่างเพื่อนฝูงก็กลายเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด
อย่างหนึ่งของวัยรุ่น การแสวงหาเอกลักษณ์ของตนเองนี้ Erikson เรียกว่าเป็น iden-
tity crisis หรือวิกฤตการณ์แห่งการแสวงหาเอกลักษณ์ มีการมองตน และเห็นตนเอง
ตามที่ผู้อื่นเห็น เรียนรู้และยอมรับความสามารถของตน เลือกเอาความเป็น "ตน" เหมือน
ตัวละคร เลือกสวมหน้ากาก ซึ่งตนจะแสดงบทบาทได้เหมาะสม เช่นเดียวกับการสวมหัว
โขนของไทย4 เรียนรู้และสร้างเอกลักษณ์ของตนขึ้นมา
การยอมรับตนขึ้นอยู่กับการใช้สติปัญญาของผู้นั้นด้วย ถ้ามีเหตุมีผลใช้สติปัญญาก็
จะเข้าใจตัวเองตามที่เป็นจริง (realistic) ถ้าใช้อารมณ์อย่างเดียวก็จะมองเห็นตน
ตามที่ตนอยากจะเป็น (ideal self) ผู้ที่ใช้สติปัญญาย่อมมองเห็นความแตกต่างระหว่าง
ตัวเองจริงๆ กับตัวเองในอุดมคติ การมองเห็นตัวเองนี้ ยังได้รับการสนับสนุนจากสังคม
วัฒนธรรมที่แวดล้อมตนอยู่ ถ้าพ่อแม่เพื่อนฝูงยอมรับ ก็จะเกิดความมั่นใจในตัวเอง ถ้าเข้า
กับใครไม่ได้ ก็ทำให้เกิดความสงสัยไม่มั่นใจ และไม่เชื่อว่าผู้อื่นจะยอมรับตนต่อไป
อารมณ์ของเด็กวัยรุ่น
อารมณ์ของเด็กวัยรุ่นมักเป็นผลสืบเนื่องมาจากระยะก่อนวัยรุ่น โดยบางครั้ง
อาจเพิ่มความรุนแรงขึ้นบ้าง3 เด็กวัยนี้มักจะมีความรู้สึกที่เปิดเผย เชื่อมั่นในตนเอง รู้สึก
ว่าตนมีความสุข แต่ในบางครั้งก็อาจจะหดหู่ มีความสงสัยอยู่ตลอดเวลาได้ รู้สึกชอบและไม่
ชอบรุนแรง ไม่ค่อยจะยอมใครง่ายๆ แต่บางครั้งก็จะโอบอ้อมอารี บางครั้งก็เป็นคนเห็นแก่
ตัวแบบเด็กๆ มักจะมีความรู้สึกนึกคิดขัดแย้งกับผู้ใหญ่อยู่เสมอ ถ้าพ่อแม่ให้โอกาสเด็กวัยรุ่น
ได้แสดงความเห็น ก็จะช่วยให้เด็กเรียนรู้วิธีการขึ้นทีละน้อยถ้าไม่เปิดโอกาสเลย เด็กจะ
เกิดความเครียด และเกิดปัญหาทางอารมณ์ตามมา เวลาที่อยู่บ้านเด็กวัยรุ่นมักจะชอบอยู่ใน
ห้องส่วนตัวตามลำพัง ไม่ชอบให้ใครรบกวน แต่เวลาอยู่กับเพื่อนๆจะชอบช่วยเหลือให้คำ
แนะนำเพื่อนฝูง ชอบคบกันเป็นกลุ่มๆ ชอบให้เพื่อนฝูงยอมรับและยกย่อง เวลาที่เด็กวัยรุ่น
อยู่บ้าน พ่อแม่มักจะเห็นว่าเป็นเด็กอยู่เสมอ เด็กเองก็ไม่ชอบการบังคับ และมักจะมีข้อขัด
แย้งอยู่ภายในใจของเด็กเสมอ เช่น บางครั้งก็อยากเป็นผู้ใหญ่ จะได้ทำอะไรได้ตามใจ
ตนเอง บางครั้งก็อยากจะมีคนดูแล อยากจะสบายแบบเด็กๆอีก อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก
เด็กกำลังเติบโตไปสู่ความเป็นผู้ใหญ่ มีความต้องการที่จะพึ่งพาตนเอง จึงทำให้เด็กมักจะ
ฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ต่างๆในครอบครัว ไม่เห็นด้วยกับพ่อแม่ ทั้งๆที่ยังคงต้องการความสนใจจาก
พ่อแม่อยู่ ทั้งนี้ เพราะต้องการความเป็นอิสระนั่นเอง บ่อยครั้งที่ความขัดแย้งเกิดขึ้นจาก
เรื่องเล็กๆ เช่น การแต่งกาย ถ้าพ่อแม่เข้มงวดมากก็จะทำให้เด็กเกิดความเครียดมากขึ้น
ความต้องการที่สำคัญอย่างหนึ่งของเด็กวัยนี้ คือ ต้องการให้คนอื่นๆยอมรับ
ความเป็นเพศชายหรือเพศหญิงของตน ต้องการมีทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนเพื่อนๆเพศเดียวกัน
ในกลุ่ม3 ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม ต้องการให้เพื่อนๆรู้สึกประทับใจในพฤติกรรมของ
ตน เด็กวัยรุ่นจะรู้สึกนิยมความกล้าหาญของหญิงหรือชายที่มีชื่อเสียงดีเด่น และต้องการมีบท
บาทแบบผู้ใหญ่ด้วย
เด็กวัยรุ่นมักจะเอาใจใส่กับรูปร่างหน้าตาของตนมากขึ้น นึกถึงความเปลี่ยน
แปลงของตนอยู่ตลอดเวลา รู้สึกกังวลใจกับความเก้งก้างของตน ไม่พอใจรูปร่างหน้าตา
แม้ผู้ใหญ่จะเห็นว่าเป็นเรื่องไม่สำคัญนัก แต่เด็กเองจะกังวลใจมากเพราะต้องการให้ตนนั้น
เป็นที่ยอมรับของเพื่อนฝูง การที่เด็กวัยรุ่นมีอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงง่ายและรุนแรง ก็เพราะมี
ความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายเกิดขึ้นไปทางแบบผู้ใหญ่ เด็กก็สนใจจะทำตามแบบอย่างของ
ผู้ใหญ่ ซึ่งบางครั้งก็ทำได้ไม่เหมาะสมหรือไม่เข้าใจ ผู้ใหญ่ก็จะมองว่ายังเป็นเด็กอยู่ ทำให้
ขัดแย้งกันบ่อยๆ นอกจากนี้ ยังมีการเปลี่ยนแปลงของต่อมไร้ท่อและอวัยวะภายใน ทำให้
เด็กกินจุขึ้น ออกกำลังมากขึ้น ต้องการพักผ่อนมากขึ้น ผู้ใหญ่อาจจะเข้าใจว่าเกียจคร้าน
เด็กวัยรุ่นเริ่มสนใจเพศตรงข้าม ต้องการพึ่งตนเองและหมู่คณะ จึงมักรวมกันเป็นกลุ่มเป็น
แก๊งค์ ถ้าผู้ใหญ่ขัดขวางก็ทำให้เกิดความเครียด หงุดหงิด อยากหลบออกนอกบ้าน หรือ
เก็บตัวอยู่แต่ในห้อง การพยายามปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ และสิ่งแวดล้อม
ใหม่ๆ ทำให้เด็กวัยรุ่นมีอารมณ์ที่ไม่มั่นคง จะเกิดความคับข้องใจอยู่เสมอ
ความเปลี่ยนแปลงทางจิตใจของเด็กวัยรุ่น
ความเปลี่ยนแปลงทางจิตใจของวัยรุ่น มีผลสืบเนื่องมาจากความเปลี่ยนแปลง
ทางร่างกายของเด็กนั่นเอง อาจจะแยกเป็นหลายแง่มุมดังนี้3
1. มีความต้องการใหม่ๆเกิดขึ้น และเป็นไปอย่างรุนแรง ต้องการอะไร
เมื่อไม่ได้ดังใจก็จะมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป เช่น โกรธฮึดฮัด และจะพยายามหาความ
พอใจเอาทางใดทางหนึ่งให้ได้ ผู้ใหญ่มักกีดกันห้ามไม่ให้เด็กได้รับความสุขเพลิดเพลิน ทั้งๆ
ที่บางครั้งก็ไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายแต่อย่างใด
2. มีความรู้สึกทางเพศเกิดขึ้น เด็กจะมองเห็นความสวยงาม แต่จะพิถีพิถัน
ในการแต่งตัวเพื่ออวดเพศตรงข้าม การให้ความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องเพศจึงเป็นสิ่งสำคัญและ
จำเป็นในวัยรุ่น
3. เกิดความกังวลใจเรื่องการเจริญเติบโต ร่างกายเติบโตเร็ว จนทำให้
เด็กกังวลว่ารูปร่างจะใหญ่โตเทอะทะ บางคนจะอดข้าวบ้าง ยืนนั่งต้องงอๆเพื่อให้ตัวเล็ก
ลงบ้าง เด็กหญิงมักสวมเสื้อชั้นในคับๆรัดรูปทรงไม่ให้รู้สึกว่าเติบโตขึ้น เด็กชายกังวลเรื่อง
เสียงเปลี่ยนไป เป็นต้น
4. สติปัญญา ความคิดเจริญมากขึ้น สนใจแสวงหาความรู้ใหม่ๆ เพื่อเพิ่มพูน
ความสามารถ เริ่มเข้าใจความไพเราะ ความดี ความสวยงาม ความเจริญทางด้านนี้จะ
ค่อยเป็นค่อยไป
5. รู้จักรับผิดชอบและต้องการเป็นอิสระ เด็กเชื่อความสามารถของตนเอง
รักเกียรติยศชื่อเสียง สนใจทำสิ่งที่ดีงามและเป็นประโยชน์ ชอบแสดงความคิดเห็น และ
กระทำสิ่งต่างๆตามลำพัง ชอบทดลองสิ่งนั้นสิ่งนี้เรื่อยไป สิ่งใดที่พอใจก็รับเอาไว้ การเข้า
ใจเด็กวัยรุ่นและแนะนำให้รู้จักการตัดสินใจโดยถูกต้องเหมาะสม จึงนับว่าเป็นสิ่งสำคัญ
6. อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย และรุนแรง ประเดี๋ยวรักประเดี๋ยวโกรธทำ
อะไรสำเร็จก็ดีใจ พลาดพลั้งก็เสียใจ กระตือรือร้น
7. มีจินตนาการมากขึ้น โดยถือตนเองเป็นคนสำคัญในจินตนาการ และมัก
เกี่ยวกับความรัก ความสำเร็จ ความปลอดภัย ความสงสารตนเอง ความตาย
8. ความเชื่อมั่นต่างๆเป็นไปอย่างรุนแรง เชื่ออะไรก็มักจะเชื่อเอาจริงๆ
จังๆ เช่น เชื่อเรื่องของความถูกต้อง ความดี แต่ในขณะเดียวกันก็จะเกิดระแวงไม่ยอม
เชื่ออะไรง่ายๆ นอกจากจะมีหลักฐานมาประกอบอ้างอิง
9. ความสนใจในการสมาคมมีมากขึ้น เข้าใจความสัมพันธ์และหน้าที่ที่ตนจะ
ต้องปฏิบัติ หมู่คณะมีอิทธิพลเหนือเด็ก เด็กวัยนี้จะคล้อยตามระเบียบปฏิบัติของหมู่คณะหรือ
สังคม ดังนั้น การจัดสิ่งแวดล้อม สโมสรสังคมสิ่งที่ดีงาม ก็จะเป็นประโยชน์แก่เด็ก
10. ประสาทและความรู้สึกด้านสัมผัสตื่นตัวขึ้นมาก เด็กจะสนใจดนตรี วรรณ
กรรม ศิลปกรรมต่างๆ ผู้ที่มีความเป็นพิเศษอยู่ทางด้านนี้บ้างแล้วก็จะก้าวหน้าไปมาก นิสัย
การกระทำหลายๆอย่างก็มักจะเกิดขึ้น เปลี่ยนแปลงหรือเลิกไปในวัยนี้ รวมทั้งนิสัยในการ
คิดและรู้สึกด้วย เช่น สร้างนิสัยอดทนเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เป็นต้น
พัฒนาการทางสังคมของเด็กวัยรุ่น
เด็กต้องการอิสระที่จะทำงานของตนเอง และการสังคมในกลุ่มเพื่อนก็จะกว้าง
ขึ้น มักจะอยู่เป็นกลุ่ม การได้ทำกิจกรรมร่วมกันจะเป็นรากฐานความสัมพันธ์ทางสังคมใน
อนาคต การที่เด็กเห็นอกเห็นใจผู้อื่น พยายามจะช่วยผู้อื่นจัดเป็นวุฒิภาวะที่เจริญขึ้น รู้จัก
เป็นผู้ให้และผู้รับระหว่างเพื่อนในวัยเดียวกันดีขึ้น เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นตอนกลางจะมีความเชื่อ
มั่นในตนเองมากขึ้น จึงมักทำหรือแสดงความคิดไม่เหมือนกับคนอื่นๆเพราะเด็กต้องการเป็น
ตัวของตัวเองมากขึ้น อิทธิพลของหมู่คณะเริ่มลดน้อยลง
ความสนใจของเด็กวัยรุ่น3
1. ความสนใจเรื่องสุขภาพ ได้แก่ เรื่องการกิน การนอน การพักผ่อน
เสื้อผ้า ความสะอาด และการป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ
2. ความสนใจเรื่องเพศ สนใจในการปรับปรุงตัวให้เข้ากับเพื่อนต่างเพศ
การปฏิบัติตนต่อเพศตรงข้าม การเลือกเพื่อนต่างเพศ เป็นต้น
3. ความสนใจในการเลือกอาชีพ ตอนแรกเด็กจะสนใจอาชีพในลักษณะ
เพ้อฝัน และสนใจหลายๆอาชีพ ต่อมาจึงจะสนใจอาชีพที่เป็นจริงเป็นจังขึ้นมา นอกจากนี้
อาชีพที่เขาสนใจเลือก จะเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับความสามารถของเขามากขึ้น
4. ความสนใจในกิจกรรมสันทนาการ เช่น กีฬา การแสดงศิลปะ งาน
อดิเรก เป็นต้น และเด็กวัยรุ่นมักจะเล่นเป็นกลุ่ม เป็นทีม มุ่งหวังความสำเร็จของทีม
มากกว่าของส่วนบุคคล
5. ความสนใจในการค้นคว้าและสร้างจินตนาการ เช่น การประดิษฐ์ การ
ค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ การแต่งบทประพันธ์ การเขียนภาพ เป็นต้น
6. ความสนใจในการสร้างนิสัยการเรียนที่ดี เด็กวัยรุ่นจะพยายามคิดค้นว่า
ทำอย่างไรจึงจะเรียนได้ผลดี ทำงานให้มีประสิทธิภาพ ทำอย่างไรจึงจะแก้ปัญหายากๆได้
7. ความสนใจในเรื่องคุณสมบัติส่วนตัว เช่น บุคลิกภาพรูปร่างหน้าตา
ความสะอาดเรียบร้อย การสนทนาวางท่าทาง และคุณลักษณะอื่นที่จำเป็นในการเข้าสังคม
เช่น การเอื้อเฟื้อผู้อื่น
8. ความสนใจในเรื่องปรัชญาชีวิต เด็กวัยนี้เริ่มคิดถึงหลักของศีลธรรม
จรรยา จะทำอะไรก็เริ่มมีกฎเกณฑ์ มักจะมีอุดมคติ หรือสุภาษิตประจำตัว
พฤติกรรมของเด็กวัยรุ่นซึ่งผู้ใหญ่มองว่าแปลกๆไม่ค่อยเหมาะสมนั้น แท้ที่จริง
เป็นปรากฎการณ์ธรรมดาของเด็กนั่นเอง ถ้าผู้ใหญ่เข้าใจก็จะสามารถให้คำแนะนำ จัด
ประสบการณ์ให้เด็กได้เปลี่ยนแปลงพัฒนาไปในทางที่ดี และเหมาะสมกับสังคมและวัฒนธรรม
ก็จะเป็นการสร้างสมบุคลิกภาพที่ดีให้แก่เด็กแต่เริ่มต้น เพื่อให้เขาได้เป็นส่วนที่ดีของสังคม
และช่วยกันสร้างสรรค์สังคมต่อไปในอนาคต
สภาพจิตใจของผู้ใหญ่
โดยทั่วไปความเป็นผู้ใหญ่ (adulthood) มักจะหมายถึงช่วงระยะเวลาที่พ้น
จากวัยรุ่น และก่อนที่จะถึงวัยสูงอายุ ซึ่งเป็นช่วงอายุประมาณ 18-60 หรือ 65 ปี
ช่วงระยะเวลานี้ แบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ วัยหนุ่มสาว (young adult
years) ช่วงอายุ 18-35 ปี วัยกลางคน (middle adult years) ซึ่งเป็นช่วงอายุ
35-50 ปี ส่วนช่วงอายุ 50-65 ปี นั้น บางคนจะถือว่าเป็นระยะของการบรรลุวุฒิภาวะ
ของความเป็นผู้ใหญ่เต็มที่ (maturity)และเริ่มต้นของการเปลี่ยนวัยไปสู่การเป็นผู้สูงอายุ6
อย่างไรก็ตาม การแบ่งช่วงระยะวัยต่างๆนี้ อาจจะแตกต่างกันได้ เช่น Levinson's
(1978) ได้แบ่งชีวิตคนออกเป็น 4 ช่วง คือ 1. เด็กและวัยรุ่น อายุตั้งแต่เกิดถึง 22 ปี
2. ผู้ใหญ่วัยต้น อายุ 17-45 ปี 3. วัยกลางคน อายุ 40-65 ปี 4. วัยสูงอายุ อายุ
60 ปีขึ้นไป7
Intimacy VS Isolation และ Generativity VS Stagnation
เรื่องการพัฒนาการทางด้านจิตใจ ซึ่งศึกษาโดย Erikson ที่ได้กล่าวแล้ว
ในตอนต้นของบทนี้ จะเห็นได้ว่า Erikson ได้มองว่า ถ้าพัฒนาการทางด้านจิตใจของคน
ในวัยหนุ่มสาว (young adult) ได้เป็นไปอย่างสมบูรณ์แล้ว จะมีการพัฒนาบุคลิกภาพใน
ส่วนของความสามารถที่จะสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นได้อย่างสนิทชิดเชื้อ (capacity
for intimacy) แต่ถ้าพัฒนาการนี้ล้มเหลว ก็จะทำให้เกิดการหยุดชะงักของการสร้าง
สัมพันธภาพกับบุคคลอื่น และเกิดการแยกตัวออกจากสังคม ไม่สามารถมีสัมพันธ์ที่สนิทแน่น
กับใครได้ Erikson เรียกผลที่เกิดจากความล้มเหลวของพัฒนาการนี้ว่า isolation5
ส่วนในช่วงของวัยกลางคน (middle adult years) นั้น Erikson ได้สรุปว่า พัฒนา
การทางบุคลิกภาพของคนในวัยนี้ ถ้าเกิดขึ้นอย่างเหมาะสมก็จะทำให้คนๆนั้นมีความสามารถ
ที่จะ "ให้" หรือ "ใส่ใจ"บุคคลอื่นนอกเหนือไปจากตัวของตัวเองได้ และ Erikson
เรียกความสามารถอันนี้ว่า "generativity" แต่ถ้าการพัฒนานี้ไม่สามารถเป็นไปได้ ก็
จะทำให้คนๆนั้นไม่สามารถจะนึกถึงคนอื่น ไม่สามารถ "ให้" หรือ "ใส่ใจ" คนอื่นได้ จะ
ยังคงสนใจแต่ตนเองความรู้สึกของตนและสิ่งที่ตนจะได้รับจากผู้อื่นเท่านั้น ผลที่เกิดขึ้นแบบ
นี้ Erikson เรียกว่า "stagnation" หรือ "self-absorption" ระยะหรือ stage
ของพัฒนาการช่วงนี้ Erikson ให้ไว้จนถึงอายุ 60 ปี5
การแบ่งเป็นช่วงอายุระยะต่างๆนี้ ต้องคำนึงถึงความแตกต่างในแต่ละบุคคล
และอิทธิพลของวัฒนธรรม สังคม สิ่งแวดล้อมร่วมด้วยเสมอ เช่น คนที่ต้องดิ้นรนช่วยเหลือ
ตนเองตั้งแต่เด็ก ก็ย่อมมีภาระและความรับผิดชอบเป็นผู้ใหญ่ เร็วกว่าคนที่มีพ่อแม่ปกป้อง
ดูแล แม้ในวัย 20-30 ปี ก็อาจจะยังไม่มีความเป็นผู้ใหญ่เลยก็ได้ เป็นต้น

แม่ของฉัน...น้อยกว่านี้ได้ยังงัย

จะเอาโลกเอาแผ่นดินสิ้นแผ่นฟ้า
มาเปรียบกับคุณมารดาหาได้ไม่
พระคุณแม่มีค่ามากเหนืออื่นใด
คอยห่วงใยใส่ใจทุกเวลา
คำว่า (แม่) แม่คำนี้มีค่านัก
ลูกตระหนักถึงพระคุณหนุนใฝ่หา
คอยเลี้ยงดูป้อนข้าวป้อนนมมา
พระคุณหนาล้นพ้นเกินตอบแทน......

แนะนำตัวเอง

ช์อนางสาว วัชรีพร อรุณพงษ์
ชั้น ม.5/1 เลขที่ 16
ชื่อเล่น จีน
โรงเรียนอาเวมารีอา
ครูผู้สอน คุณครูวีระชน ไพสาทย์